<
Designer of the year 2014 in Paris Design Week , A2 StudiO A2 StudiO สวนภายใน ตกแต่งภายใน
<
Designer of the year 2014 in Paris Design Week , A2 StudiO A2 StudiO สวนภายใน ตกแต่งภายใน

มหาวิทยาลัยศิลปากรโดยคณะมัณฑนศิลป์

ได้ดำเนินการกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุน นักออกแบบสร้างสรรค์ไทย โดยเมื่อปี พ.ศ. 2547 ได้เริ่มประกาศเกียรติคุณ รางวัลนักออกแบบไทยปี 2547 (Designer of the year 2004) และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน[1] โดยในปี พ.ศ. 2557 ได้ดำเนินการจัดงานนิทรรศการแสดงผลงานนักออกแบบแห่งปี 2013 ในงานปารีสดีไซน์วีค (Paris Design Week 2014) ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส และเพื่อประชาสัมพันธ์การเรียนการสอนและผลงานนักศึกษาของคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรด้วย

การแสดงงานในครั้งนี้เป็นการเผยแพร่รางวัลนักออกแบบแห่งปีไปยังต่างประเทศ
เป็นครั้งที่สองหลังจากการจัดงานครั้งแรกที่ประเทศสิงคโปรในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งประสบปัญหาเนื่องจากผลงานที่มีขนาดใหญ่และยุ่งยากในการขนส่งรวมทั้งการประกอบและติดตั้ง จากปัญหาที่ผ่านมาจึงเอามาเป็นโจทย์ในการออกแบบนิทรรศการในครั้งต่อมา โดยได้เริ่มจากการนำ “ความเป็นไทย” เข้ามาแก้ไขปัญหาเพราะเป็นงานนิทรรศการแสดงผลงานนักออกแบบแห่งปีของไทย ที่ควรจะต้องสื่อสารความเป็นไทยในแง่มุมต่างๆ และคงความเป็นสากลไว้ด้วย ผู้ออกแบบจึงมองไปที่งานช่างงานออกแบบของไทย โดยเฉพาะในงานออกแบบเรือนไทยภาคกลาง ที่มีการออกแบบที่ประณีตประสานทั้งความงาม ประโยชน์ใช้สอย และงานช่างฝีมือไว้ได้อย่างลงตัว การเข้าไม้ การเข้าเดือย สลักไม้ การสานและการขัดกันเพื่อให้เกิดแรงยึดต่างๆ เมื่อนำมาประสานกับการแก้ไขปัญหาเรื่องวัสดุที่จะต้องขนส่งได้ง่ายน้ำหนักเบา ผู้ออกแบบจึงเลือกใช้กระดาษมาเป็นวัสดุและนำเอาการขัดกัน (INTERLACING) ที่ได้แรงบันดาลใจจากงานไม้มาเป็นวิธีการในการประกอบ โดยที่รูปแบบนั้นเกิดจากการสังเกตของผู้ออกแบบว่าในองค์ประกอบต่างๆ ของลักษณะไทยนั้นมักจะมีรูปร่างของสามเหลี่ยมไปอยู่ในองค์ประกอบของ ศิลปะไทยในแขนงต่างๆ ทั้งลายไทย หมอนขิด ขนมตาล การร้อยมาลัย ฯลฯ ประกอบกับโลโก้ของรางวัลนักออกแบบแห่งปีที่เป็นรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมเหมือนกัน จึงนำเอารูปร่าง รูปทรงของสามเหลี่ยมเข้ามาพัฒนารูปแบบในการออกแบบบูธนิทรรศการ (Booth) ในครั้งนี้

ด้วยองค์ประกอบรูปร่างสามเหลี่ยมที่สามารถต่อกันได้แบบโมดูล่า (Modular Design) ผู้ออกแบบจึงใช้หลักการนี้เข้ามาช่วยในการแบ่งขนาดของกระดาษเพื่อให้สะดวกต่อการขนส่ง ตัวฉากด้านหลังนั้นออกแบบให้กระดาษพับเก็บขอบเข้าไปด้านข้าง และไปขัดกับแกนกระดาษด้านหลังเพื่อให้เกิดความแข็งแรงเมื่อต่อกันแล้วสามารถตั้งขึ้นไปเป็นผนังได้ ในส่วนตัวฐานด้านหน้านั้นก็ใช้หลักการเดียวกันวางลงบนพื้นและใช้แกนขาที่สูงขึ้น มีการเล่นระดับสูงต่ำตั้งแต่ 1.00 เมตร 0.85 เมตร และ 0.75 เมตร เพื่อทำให้เกิดมิติที่น่าสนใจ ประกอบกับเป็นการแบ่งประเภทของรางวัลที่นำไปจัดแสดงด้วยในตัว ส่วนเนื้อกระดาษนั้นผู้ออกแบบได้ศึกษาชนิดประเภทของกระดาษต่างๆ และได้ทำหุ่นจำลองเพื่อพัฒนาแบบและทำต้นแบบเพื่อทดลองและทดสอบความแข็งแรง การรับน้ำหนัก ก่อนที่จะดำเนินการผลิตจริงโดยได้เลือกใช้กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น และ 5 ชั้น ความหนา 185 ปอนด์ สีขาวโดยมีการทดลองประกอบจริงก่อนที่จะเก็บใส่กล่องเพื่อเตรียมขนส่งไป

ผลงานจริงที่นำไปจัดแสดงนั้นผู้ออกแบบได้ออกแบบกล่องอะคริลิค (Acrylic) ใสรูปสามเหลี่ยม ขนาดเท่ากับตัวบูธ (Booth) กระดาษด้านในติดกำมะหยี่สีดำ เพื่อให้สามารถจัดโชว์ผลงานให้อยู่ภายในกล่องอคริลิกได้ และมีส่วนที่เป็นจอแท็บเล็ต (Tablet) สำหรับเปิดฉายบทสัมภาษณ์ของนักออกแบบแห่งปีที่ได้รางวัล เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ชมให้เข้าใจแนวคิดของนักออกแบบ โดยได้ออกแบบการจัดวางให้อยู่ด้านในกล่องอะคริลิค (Acrylic) สีขาวที่เจาะช่องพอดีกับหน้าจอและยึดติดกับตัวบูธกระดาษ ในการขนส่งนั้นได้ใส่กล่องไปทั้งหมด 6 กล่องส่งทางไปรษณีย์และขนไปเองทางเครื่องบินอีก 4 กล่อง โดยเตรียมอุปกรณ์การประกอบไปเองทั้งหมด

รูปที่คล้ายคลึงกัน

homify - แก้ไขบ้านของคุณ

4.5

เรียกดูภาพถ่ายกว่าล้านภาพด้วยแอพ homify!

ดาวน์โหลดแอพฟรี
ไม่เป็นไรขอบคุณ