< >
อาคารคีตราชนครินทร์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา, A2 StudiO A2 StudiO สวนภายใน ตกแต่งภายใน
< >
อาคารคีตราชนครินทร์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา, A2 StudiO A2 StudiO สวนภายใน ตกแต่งภายใน

อาคารกองอำนวยการโรงงานสุราบางยี่ขันเดิมนั้น
ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานกับทางกรมศิลปากร โดยเป็นจัดให้เป็นมรดกวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การบูรณะดูแลรักษาไว้ ซึ่งตัวอาคารนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่บริเวณปากคลองบางยี่ขัน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสุรามาตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ 1 และยังมีเนื้อความกล่าวถึงพื้นที่บริเวณนี้ในนิราศภูเขาทองของสุนทรภู่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จนกระทั่งมาถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บอากรสุราจากเดิมที่ใชระบบเจาภาษีนายอากร มาเป็นการจัดเก็บอากรสุราโดยรัฐเอง ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้สันนิษฐานได้ว่าอาคารอำนวยการโรงงานสุราบางยี่ขัน ได้สร้างขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว

ในปัจจุบันตัวอาคารได้ตกมาอยู่ในความดูแลของ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และได้พระราชทานชื่ออาคารหลังนี้ว่า “อาคารคีตราชนครินทร์” แต่ด้วยสภาพอาคารที่ชำรุดทรุดโทรมเพราะถูกทิ้งร้างมานาน ไม่ได้มีการดูแลรักษามาตั้งแต่โรงงานสุราได้ปิดตัวลง เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยได้เริ่มสำรวจและดำเนินการออกแบบปรับปรุงภายในอาคารอนุรักษ์ภายใต้แนวคิด “อดีต – ปัจจุบัน – อนาคต” (Past – Present – Future) โดยในส่วนอาคารอำนวยการโรงงานสุราบางยี่ขันได้เป็นตัวแทนของอดีต ด้วยรูปแบบทางสถาปัตยกรรมในสไตล์โคโลเนียล ที่เน้นลักษณะสมมาตร มีการแบ่งช่องเปิดอาคารเป็นจังหวะ ซึ่งทำให้เกิดแนวความคิดในการออกแบบภายใน “จังหวะดนตรีคลาสสิกในท่วงทำนองแห่งความเป็นไทย” ด้วยตัวอาคารเดิมที่ถูกออกแบบในสไตล์โคโลเนียลรูปแบบตะวันตก ที่การออกแบบมีการผสมผสานกับลักษณะการใช้งานและภูมิอากาศในประเทศไทยเข้าไปด้วยกัน มีการฉลุลายขนมปังขิงบนซุ้มประตูเป็นลายเทพพนมเพื่อระบายอากาศ ลักษณะห้องที่เปิดโล่งสูงโปร่งมีความกว้าง อันเป็นลักษณะเด่นในสถาปัตยกรรมยุครัชกาลที่ 5 ดังนั้นการออกแบบภายในจึงเน้นในเรื่องของจังหวะ การออกแบบรายละเอียดในส่วน คิ้ว บัว ลูกฟัก เพื่อหาสัดส่วนที่เหมาะสมกับพื้นที่ว่างอันจะทำให้เกิดความสมดุลทางสายตา ซึ่งอ้างอิงและผสมผสานรูปแบบทางประวัติศาสตร์เข้าไปในงาน ทำให้เกิดความลงตัวและกลมกลืนกันไปทั้งตัวอาคารและงานออกแบบภายใน โดยมีการจัดวางพื้นที่ใช้สอยตามความต้องการใช้งานของทางสถาบันดนตรีฯ เพื่อรับรองการเรียนการสอนในหลักสูตรดุริยางคศาสตร์บัณฑิต

ด้วยแนวความคิดที่มีที่มาจากการศึกษาประวัติศาสตร์ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม โครงสร้างของตัวอาคารประกอบกับประโยชน์ใช้สอย การออกแบบภายในที่เน้นการร่างจังหวะ สัดส่วน รายละเอียดในงานตกแต่งภายใน และการควบคุมงานก่อสร้างที่ใช้วิธีการที่เหมาะสมกับงาน จึงทำให้อาคารแห่งนี้มีความสวยงามเหมาะสมแก่การใช้งาน สามารถสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอนดนตรีคลาสสิก ซึ่งผู้ออกแบบเชื่อว่าบรรยากาศที่ดีจะสามารถทำให้ผู้เรียนถ่ายทอดสุนทรียภาพทางด้านดนตรีออกมาได้อย่างเต็มที่

รูปที่คล้ายคลึงกัน

homify - แก้ไขบ้านของคุณ

4.5

เรียกดูภาพถ่ายกว่าล้านภาพด้วยแอพ homify!

ดาวน์โหลดแอพฟรี
ไม่เป็นไรขอบคุณ